CD-ROM (Compact Disc Read Only Memory)
เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวของคลื่นแสง 780 nm มีขนาดความจุ ตั้งแต่ 600 - 870 MB มีสองแบบ คือแบบเขียนอย่างเดียว(CD-R) และสามารถลบแล้วเขียนซ้ำได้(CD-RW) CD-ROM
มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 เมื่อบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และโซนี่ (Sony)ได้ร่วมมือกันที่จะผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง (CD) โดยในปี 1982 ทั้งสองบริษัทได้กำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกเสียง วิธีการอ่านซีดีและขนาดของซีดี โดยกำหนดเป็น 5 นิ้วซึ่งกล่าวกันว่าการที่กำหนดขนาดของแผ่นดิสก์เป็น 5 นิ้วนั้นก็เพราะว่าแผ่นดิสก์ขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ทั้งสองบริษัทยังคงร่วมมือกันตลอดทศวรรษ 1970 ได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดีกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำให้มีการพัฒนาซีดีรอมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
DVD (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc)
เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวของคลื่นแสง 650 nm DVD ในชื่อเต็มว่า Digital Video Disc ดีวีดีมีเมื่อปี 1995 หลังจากซีดี 13 ปีโดยมีกลุ่มพันธมิตรใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม ดีวีดี (DVD Consortium) มีบริษัทฟิลิปส์ โซนี่ และอีก 7 บริษัทได้แก่ ฮิตาชิ แมทซูชิต้า (พานาโซนิค) ไพโอเนียร์มิตซูบิชิ เจวีซี ธอมสัน โตชิบ้า และบริษัทไทม์ วอร์นเนอร์
แรกๆใช้ชื่อเต็มว่า "Digital Video Disc" ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปี 1996 สมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์สหรัฐอเมริกาและสมาคมผู้ผลิตสินค้าเนื่องจากซอฟต์แวร์หรือข้อมูลที่รองรับจะเกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียและภาพยนตร์ต่อมามีการประยุกต์ใช้ดีวีดีให้สามารถรองรับการทำงาน ด้านอื่นมากขึ้นโดยเฉพาะความสามารถ ในการเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ นอกจากภาพยนตร์วีดีโอเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Digital Versatile Disc แทนแต่ก็ยังคงเรียกใช้ทั้งสองแบบ หลังจากบริษัทโซนี่ และฟิลิปส์ได้ร่วมมือกันพัฒนาซีดีรูปแบบต่างๆ ออกมาสู่ตลาดโลกและพัฒนาสื่อDVDอีกชนิดหนึ่งโดยรูปลักษณ์ภายนอกของแผ่น DVD นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับแผ่นซีดีถ้าไม่บอกหรืออ่านโลโก้บนแผ่นเพียงมองดูด้วยตาเปล่าก็คงแยกไม่ออกว่าแผ่นใดเป็น DVD แผ่นใดเป็นซีดีธรรมดา
แผ่น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากเมื่อเทียบกับแผ่นซีดีมาตรฐานสามารถเก็บข้อมูลได้ 700 เมกะไบต์ แต่แผ่น DVD สามารถเก็บได้มากกว่าถึง 7 เท่า ในแบบ 1 ชั้น (Layer) คือประมาณ 4.7 กิกะไบต์ เมื่อกล่าวถึงระบบภาพแล้ว DVD สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบจากสตูดิโอ ซึ่งมากกว่า 500 เส้นด้วยระบบการบีบอัดสัญญาณดิจิตอลรวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 9.8 Mbps ซึ่งมากกว่า VCD ที่มีอัตราการส่งผ่านเพียง 1.5 Mbps และเมื่อเปรียบเทียบความคมชัด DVDให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่าและระบบเสียงนั้นสามารถเก็บเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital (AC-3), DTS 5.1 Channel ได้ภายในแผ่นเดียวอีกทั้งสามารถบรรจุเสียงพากย์ได้ 8 ภาษาและบันทึกคำบรรยายได้ถึง 32 ภาษา
HD DVD (High Definition DVD)
เป็นมาตรฐานของออปติคอลดิสก์ซึ่งพัฒนาโดยโตชิบาในรูปแบบของ ดีวีดี เจเนอเรชันใหม่ ซึ่งมีความคมชัดมากกว่า DVD ในปัจจุบันโดยมีขนาดของแผ่นเท่ากับแผ่น CD ธรรมดา และยิงด้วย blue laser แบบเดียวกับที่ใช้ใน Blu-ray Disc โดยในแบบ single layer จะความจุมากถึง 15 GB และ dual layer มีความจุ 30 GB ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Blu-ray Disc ซึ่งจุได้ 25 GB สำหรับ single layer และ 50GB สำหรับ dual layer อาจจะได้ความจุน้อยกว่าแต่ราคาจะถูกกว่า
BD (Blu Ray Disc)
คือแผ่นเก็บข้อมูล แบบ Optical Disc รูปแบบใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าแผ่น DVD แบบเดิมซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 25 GB. ต่อ 1 Layer โดย ถ้า 1 แผ่น BD แบบ 2 Layer หรือ Dual Layer เท่ากับว่า 1 แผ่น BD มีความจุถึง 50 GB ซึ่ง BD ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ HD DVD ที่มี Toshiba เป็นหัวเรือใหญ่
BD ใช้ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์ 405 นาโนเมตร หรือ ช่วงแสงสีฟ้าม่วง (Blue-Violet) ซึ่งทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าแบบเดิมซึ่งใช้คลื่นแสงเลเซอร์สีแดงพัฒนาขึ้นโดยสถาบัน Blu-ray Disc (R) Association (BDA) โดยเป็นการรวมตัวกันของ Matsushita, Pioneer, Pillips, Thomson, LG Electronics, Hitachi, Sharp, Samsung และ Sony ซึ่งมี Sony เป็นผู้นำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น